วิธีลดความอ้วน

โรคอ้วน เป็นสภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมตามอวัยวะต่างๆ มากจนเกินไป เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราต้องลดความอ้วนแล้วหรือยัง ?       เรื่องของความอ้วนเป็นปัญหาที่สาวๆ หลายๆ คนกลัวว่าจะทำให้เสียบุคลิกภาพ แต่นอกจากบุคลิกภาพจะไม่สวยงามแล้วยังอาจมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกด้วยค่ะ ถ้าความอ้วนเกิดมาเยือนเราขึ้นมาแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเราได้ เช่น การปวดเมื่อยเมื่อนั่งนานๆ อาการปวดหลัง หรือเข่า หรือเมื่ออายุเรามากขึ้นก็จะก่ลายเป็นโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เราจะดูว่าตัวเองอ้วนหรือไม่อ้วนนั้น เรามีวิธีคำนวณคร่าวๆ จากการคำนวณดัชนีมวลกายมาฝากทุกๆ ท่านค่ะ ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) BMI    =       น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)                                        ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร)                                            BMI คิดจากน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร  คูณด้วยส่วนสูงเป็นเมตร เช่น ถ้าคนมีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร ซึ่งก็คือ 1.6 เมตร จะมีค่า BMI เท่ากับ 21.48      ค่า BMI ของคนปกติจะอยู่ในช่วง 18.5 - 22.9 ถ้าตั้งแต่ 23 ขึ้นไป ถือว่า เริ่มอ้วน แต่ถ้าเกิน 25 เราจะเรียกว่าโรคอ้วน   ยาลดน้ำหนักอีกทางเลือกของวิธีลดความอ้วนวิธีลดความอ้วนด้วยการรับประทานยาลดน้ำหนัก      หลายท่านเมื่ออ้วนแล้วก็เลือกวิธีลดความอ้วนด้วยการใช้ยาในการลดน้ำหนัก อันนี้เราไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เนื่องจากว่ายาชุดลดความอ้วนจะมีส่วนประกอบของยาหลายชนิด ที่อาจมีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยาที่กดศูนย์การอิ่ม ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกอิ่มตลอดเวลา ยาจำพวกนี้จะมีผลข้างเคียงค่อนข้างสูง อาจทำให้มีอาการใจสั่น ง่วงซึม หงุดหงิดง่าย สมาธิสั้น และที่สำคัญ ถ้าหากว่าเราหยุดรับประทานยาแล้วก็จะกลับมาอ้วนเหมือนเดิม หรือในบางท่านกลับมาอ้วนมากกว่าเดิม ซึ่งเรียกว่าปรากฎการณ์ โยโย่เอฟเฟค (YOYO Effect)       ยาอีกชนิดหนึ่งเป็นยาที่ช่วยดูดซึมไขมัน ร่างกายเราจะไม่อ้วน จากการที่ได้รับไขมันน้อยลง แต่ผลเสียที่ตามมาก็คือ จะทำให้ร่างกายขาดวิตามินเอ ดี อี เค และยังมีไขมันออกมาพร้อมกับอุจจาระ หรือบางท่านมีอาการคล้ายคนท้องเสียได้       อาหารเสริมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หลายคนเลือกใช้ หลักของอาหารเสริมก็คือ การนำผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณสมบัติในการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ช่วยระบายมาสกัดให้เข้มข้นขึ้น อาจทำเป็นในรูปแบบเม็ด หรือรูปแบบชาชงดื่ม แต่ว่าอาหารเสริมนี้จะช่วยลดความอ้วนได้หรือไม่นั้น ก็ยังขึ้นอยู่กับอุปนิสัยส่วนตัวของเราด้วย ว่าจะจำกัดอาหาร และออกกำลังกายร่วมด้วยหรือเปล่า  ส้มตำเป็นอีกเมนูที่ช่วยลดความอ้วนได้อาหารลดความอ้วน       ดังนั้น วิธีการลดความอ้วนลดน้ำหนักและไขมันที่ถูกต้องไม่ควรที่จะอดอาหาร หรือใช้ยา แต่ควรเลือกรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วน เลือกรับประทานผักให้มากๆ รับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ และถั่ว ให้เพียงพอต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ลดปริมาณอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ดื่มน้ำสะอาดให้มากเพียงพอต่อร่างกาย สูตรลดความอ้วนที่ดี คือ การออกกำลังกาย ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ    วิธีลดความอ้วนด้วยออกกำลังกายเป็นประจำวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองให้ดีขึ้น ทำให้ผิวกระชับ หรือที่เรียกว่าฟิตแอนด์เฟิร์ม (Fit & Firm) โดยที่ไม่ต้องระวังเรื่องผลข้างเคียงของการใช้ยา ลดความอ้วนได้ด้วยการหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ     และเคล็ดที่ไม่ลับอีกอย่างหนึ่งที่อยากจะบอกก็คือ การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้เรานั่งสมาธิได้ดีขึ้น ไม่ค่อยปวดเมื่อย จะได้ไม่ต้องขยับตัวบ่อยๆ และนั่งได้นิ่งนานๆ อย่าลืมนะคะ นิ่งๆ นุ่มๆ นานๆ จะได้เข้าถึงธรรมกันอย่างง่ายดาย ลองไปคำนวณดูเองนะคะว่า น้ำหนักตัวของเราเหมาะสมแล้วหรือยัง ถ้าผอมไปก็รับประทานให้มากขึ้น แต่ถ้าอ้วนไปก็ต้องไม่ตามใจปาก และถ้าจะให้ได้บุญด้วยนะคะ อาจจะลองรักษาศีล 8 ไม่รับประทานอาหารมื้อเย็นดูก็ได้นะคะ หวังว่าเรื่องอ้วนๆ ในวันนี้คงจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านบ้างนะคะความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ BMI หรือ ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)    BMI หรือ ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)  เป็นวิธีหนึ่งของการประเมินปริมาณไขมันในร่างกายที่นิยมใช้กันทั่วไป เพื่อประเมินภาวะอ้วนผอมในบุคคลอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยใช้สมการน้ำหนักตัว(กิโลกรัม) / ส่วนสูง(เมตร)2แล้วเปรียบเทียบกับค่าที่กำหนดไว้     น้อยกว่า 18.5 = ผอม     ระหว่าง 18.5 -24.9 = สมส่วน     ระหว่าง 25-29.9 = น้ำหนักเกิน     มากกว่า 30 = อ้วน     มากกว่า 40 = อ้วนอันตรายตารางชี้วัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)BMI กับการชี้วัดภาวะโรคอ้วน      ปัญหาโรคอ้วนในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วน ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต การเลี้ยงดู และพฤติกรรมสุขภาพ จากรายงานทางการแพทย์ อาทิ รายงานของ Berenson และคณะ ในการศึกษา Bogalusa Heart Study และรายงานอื่นๆ สรุปได้ว่า เด็กที่อ้วนมีแนวโน้มจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน และคนอ้วนมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง      ผลกระทบจากปัญหาโรคอ้วน  ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามมองหาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ โดยการแสวงหาและพัฒนาเครื่องมือชี้วัดปริมาณไขมันในร่างกายที่เหมาะสมและเชื่อถือได้สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ  เพราะที่ผ่านมาเป็นการการพัฒนาโดยนักวิจัยชาวตะวันตก เมื่อนำมาใช้กับชนชาติที่แตกต่างกัน ผลที่ได้ย่อมขาดความเที่ยงตรง      เนื่องจากแต่ชนชาติย่อมมีรูปแบบการเจริญเติบโต และระดับกิจกรรมของร่างกายที่แตกต่างกัน แม้ในกลุ่มประเทศเอเชียด้วยกันเอง  ดังรายงานการวิจัยของ  Deurenberg และคณะ ที่ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายกับ BMI ในกลุ่มตัวอย่างต่างเชื้อชาติพบว่า คนจีนควรมีค่า BMI ที่ 23.1 คนไทย ที่ 22.1 และคนอินโดนีเซีย ที่ 21.8      ขณะที่ค่ามาตรฐานที่ได้มีการวิจัยโดยชาวตะวันตกนั้น กำหนดไว้ที่ 25 แม้การใช้ BMI จะเป็นที่นิยมในการวัดปริมาณไขมันในร่างกาย เนื่องจากใช้ง่ายและได้ค่าที่น่าเชื่อถือ แต่วิธีการนี้ก็ยังไม่เหมาะในคนที่มีปริมาณกล้ามเนื้อมาก เช่น นักกีฬา เนื่องจากอาจได้ค่าที่ผิดพลาด เพราะใช้ค่าความสูงยกกำลังสองไปหารน้ำหนักร่างกาย      อย่างไรก็ตามการใช้ BMI เพื่อดูภาวะอ้วนในเด็กและวัยรุ่นก็มีความแตกต่างออกไป แม้ในรายงานการประชุมเกี่ยวกับการจัดทำเกณฑ์วัดและประเมินภาวะอ้วนในเด็กและวัยรุ่นของ International Obesity Task Force ในปี 1997 จะสรุปว่า BMI เป็นวิธีที่ใช้ได้ดีในเด็ก แต่เนื่องจากเด็กมีการเปลี่ยนแปลงความสูงตามอายุ และมีการเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นที่แตกต่างกัน โดยเด็กหญิงจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก่อนเด็กชาย จึงมีการเสนอให้ใช้ BMI for Age ซึ่งขณะนี้มีความพยายามพัฒนา BMI for Age สำหรับใช้กับเด็กในหลายประเทศ รวมถึงความพยายามที่จะให้มี International BMI for Age ด้วย 

ความคิดเห็น