โรคไต

โรคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายมนุษย์ โรคไตมีหลายประเภทดังนี้
  • โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
  • โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์
  • โรคไตอักเสบเนโฟรติก
  • โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)
  • เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
  • เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
  • เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
  • เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
  • เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด
  • เกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเกาต์
  • การกินอาหารรสจัดๆ เช่น กินเค็มมากๆ,หวานมากๆ เป็นต้น
  • อาการปัสสาวะผิดปกติ เนื่องจากไตและกระเพาะปัสสาวะทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อไตเกิดผิดปกติจึงส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะผิดปกติไปด้วย อาการผิดปกติของปัสสาวะมีดั้งนี้ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก เจ็บ ต้องออกแรงแบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุดกลางคัน ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะเป็นเลือด[1]
  • อาการบวม ผู้ป่วยโรคไตส่วนมากมีอาการบวมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย เช่น บวมรอบดวงตาและที่บริเวณใบหน้า บวมที่เท้า หากใช้นิ้วกดไปตรงบริเวณที่บวมแล้วมีรอยบุ๋มลงไปให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นโรคไต
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เอว กระดูกและข้อ โดยจะมีลักษณะการปวดคือ รู้สึกปวดที่บั้นเอวหรือบริเวณชายโครงด้านหลังและมักปวดร้าวไปถึงท้องน้อย ขาอ่อน หัวหน่าว และที่อวัยวะเพศ
  • ความดันโลหิตสูง เป็นอาการสำคัญที่บอกให้รู้ว่าคุณมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง ยิ่งผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงมานานและไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติโดยอาจจะเป็นโรคไตเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแดงในไตตีบอาจแบ่งได้เป็น 4 วิธีหลักๆ ด้วยกัน คือ
    1. การตรวจค้นหาและการวินิจฉัยโรคไตที่เหมาะสม การตรวจค้นหา หรือวินิจฉัยโรค ที่ถูกต้องได้ในระยะต้นๆ ของโรค ย่อมมีโอกาสได้รับผลการรักษาดีกว่าการเข้าวินิจฉัยล่าช้า
    2. การรักษาที่สาเหตุของโรคไต เช่น การรักษานิ่วไต การหยุดยาซึ่งเป็นพิษต่อไต การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาที่เหมาะสม กับโรคเนื้อไตอักเสบแต่ละชนิด เป็นต้น
    3. การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไต แม้แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรคไตแล้วแต่ผู้ป่วยจำนวนมากอาจมีการทำงานของไตที่เสื่อมลงกว่าปกติ เพราะเนื้อไตบางส่วนถูกทำลายไปไตส่วนที่ดีซึ่งเหลืออยู่จะต้องทำงานหนักขึ้นทำให้ไตเสื่อมการทำงานมากขึ้นตามระยะเวลาและมักเกิดไตวายในที่สุด ดังนั้นการชะลอการเสื่อมของไต อันได้แก่ การควบคุมอาหารให้เหมาะ กับการทำงานของไตที่เหลืออยู่ การใช้ยาเพื่อช่วยปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต การควบคุมความดันโลหิตให้ดี เป็นต้น
    ยาที่มีผลชลอไตเสื่อมได้แก่ ยากลุ่ม ACEI Inhibitors(Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors) ซึ่งได้แก่ยา Enalapril Captopril Lisinopril และramipril
    1. การรักษาทดแทนการทำงานของไต (การล้างไตและการผ่าตัดปลูกถ่ายไต) เมื่อไตวายมากขึ้นจนเข้าระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการล้างไตหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตคนไม่เคยป่วย ไม่เคยเข้าโรงพยาบาล เป็นนักกีฬา หรือการที่ดูแลสุขภาพตนเองอย่างดีแล้วนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถรับประกันได้ว่าคุณจะไม่มีโอกาสเป็นโรคไต   โรคไตเมื่อเป็นระยะแรกเริ่มอาจไม่แสดงอาการใด จนเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง ทางที่ดีเราควรมาทำความรู้จักกับโรคไต และรู้ถึงสัญญาณเตือนภัยว่าไตของท่านเริ่มผิดปกติแล้วดีกว่าคะ ว่าอาการโรคไตเป็นอย่างไร จะได้ไม่สายเกินไป

      โรคไตแบ่งเป็น 2 ชนิด

      1. ไตวายเฉียบพลัน  คือภาวะที่เกิดขึ้นในเวลารวดเร็ว ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง เช่น มีอาการความดันโลหิตต่ำ,อยู่ในภาวะช็อกนานๆ หรือมีการเสียเลือดมากๆ แต่ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถรักษาให้ไตกลับมาทำงานปกติได้
      2. ไตวายเรื้อรัง คือภาวะที่เนื้อไตถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง จนไตไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ คือไม่สามารถรักษาให้หายได้  สามารถแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรังได้ 5 ระยะ คือ
      • ระยะที่1 ไตเริ่มเสื่อม พบโปรตีนในปัสสาวะ ค่าGFR อยู่ที่ ≤ 90
      • ระยะที่ 2 ไตเสื่อม ค่าGFR อยู่ที่ 60-89
      • ระยะที่ 3 ไตเสื่อม ค่าGFR อยู่ที่ 30-59
      • ระยะที่ 4 ไตเสื่อม ค่าGFR อยู่ที่ 15-29
      • ระยะที่ 5 ไตวาย ค่าGFR น้อยกว่า 15

      สัญญาณบ่งบอกอาการโรคไต

      1. อาการตัวบวมทั้งตัว เกิดจากการมีน้ำและเกลือเพิ่มขึ้นในร่างกาย อาจจะเริ่มบวมที่หนังตาและหน้า โดยเฉพาะการบวมตอนเช้า ต่อมาที่ขาและเท้า อาการบวมหากสังเกตุไม่เห็นอาจลองใช้นิ้วกดที่หน้าแข้งสักพักแล้วปล่อยถ้ามีรอยบุ๋มอยู่แสดงว่าตัวบวม อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด เช่น โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติคซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
      2. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ภาวะซีด เพราะไตไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้ เมื่อเกิดภาวะไตวายเรื้อรังจะไม่สามารถสร้างสารนี้ได้  ถ้าเป็นน้อยๆมักไม่แสดงอาการ ถ้าเป็นมากขึ้นจะรู้สึกเหนื่อยง่าย ซีด คันตามตัว เบื่ออาหาร ตามลำดับ
      3. ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ไตอยู่ด้านหลังด้านล่าง เมื่อไตผิดปกติจะมีอาการปวดหลัง ร้าวไปถึงท้องน้อย หัวหน่าว และอวัยวะเพศได้ หากเรากดหลังหรือทุบเบาๆแล้วมีอาการเจ็บ แสดงว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือไตอักเสบ ถ้ามีไข้ร่วมด้วยเป็นสัญญาณของกรวยไตอักเสบ
      4. การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีผลึก อาจเป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ
      5. การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็น โรคไตเป็นถุงน้ำ หรือเนื้องอกของไต
      6. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น
      • ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคไต แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน ต้องส่งตรวจ
      • ปัสสาวะบ่อย ความถี่ในการปัสสาวะจะแตกต่างกันไปตามบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ดื่ม ปริมาณการขับน้ำเสียออกมาทางเหงือหรืออุจจาระ การตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนมากกว่าหนึ่งครั้ง หรือมากกว่าวันละ 3 ลิตร
      • ปัสสาวะน้อย โดยทั่วๆไปเมื่อเราดื่มน้ำมากก็ย่อมปัสสาวะมาก  แต่หากปัสสาวะน้อย อาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของไต หรือ เกิดการอุดตันของท่อปัสสาวะ
      • ปัสสาวะเป็นฟอง คล้ายฟองสบู่ เนื่องจากมีโปรตีนหรือไข่ขาว (Albumin) ปนมากับปัสสาวะ ส่วนมากเกิดจากหลอดเลือดฝอยของไตอักเสบ ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดลดลง ปริมารโคลเลสเตอรอลและไขมันสูง
      อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางอีกครั้ง เพื่อความชัดเจนและถูกต้อง เพราะอาการเหล่านี้มักเป็นอาการร่วมของโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยโรคไตสามารถทำได้ด้วย การตรวจเลือดหาค่าการทำงานของไต ตรวจปัสสาวะดูค่าโปรตีนและเม็ดเลือดแดงที่ปนมากับปัสสาวะ หรือ การอัลตร้าซาวด์ไตเพื่อดูขนาดของไตหรือความหนาแน่นของเนื้อไต ทางเดินปัสสาวะ หากไตถูกเสื่อม ถูกทำลายไปมากแล้วจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อไตไปตรวจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคลคะ รู้เร็ว รักษาทัน ไตแข็งแรง นะคะ

ความคิดเห็น