ฤษีวิศวามิตร

ฤษีวิศวามิตร

ฤษีวิศวามิตร กับพระราม พระลักษมณ์
ฤษีวิศวามิตร ชื่อ "วิศวามิตร" (อังกฤษViswamitra) เป็นอาจารย์สำนักวิศวามิตรท่านแรก มีความเชี่ยวชาญในวิชาธนู ฤษีวิศวามิตรเป็นกษัตริย์แห่งกันยากุพชะ ในตำนานบางแห่ง ว่าเป็นโอรสของพระนางคาธิ พระราชาแห่งกันยากุพชะได้บำเพ็ญตบะจนถึงได้เป็นฤษีขั้นสูง และเป็นที่ปรึกษาของพระราม วิศวามิตรพรหมฤษีมีอำนาจมาก ประสพความสำเร็จพร้อมทั้งมีธนูและลูกศรชนิดพิเศษ ได้ก่อตั้งสำนักการศึกษาขึ้น ชื่อว่าสำนักวิศวามิตร มีอาจารย์วิศวามิตรสืบต่อมามากมายหลายท่าน ซึ่งมีชื่อเสียง ในฐานะที่เป็นสำนักศึกษาของพระพุทธเจ้าในวัยเยาว์ พระวสิษฐฤษี(บางแห่งว่า วสิษฐมุนี)รับรองว่า ฤษีวิศวามิตรมีพลังจิตและเป็นฤษีขั้นสูง
ฤษีวิษวามิตร ในอีกตำนานหนึ่ง ว่า ก่อนการบำเพ็ญตบะในสมัยหนึ่งนั้น ได้มีบุตรตรีชื่อ ศกุนตลา ที่เกิดกับนางอัปสรที่มารบกวนการบำเพ็ญ

สำนักวิศวามิตรสมัยต้นพุทธศตวรรษแก้ไข

สำนักวิศวามิตรเ ป็นชื่อสำนักศึกษาแห่งกษัตริย์ มีชื่อเสียงเช่นเดียวกันกับ สำนักตักกศิลา เป็นสำนักเก่าแก่ และเป็นสถานที่ศึกษาแห่งกษัตริย์ในสกุลศากยวงศ์ และสกุลโกลิยวงศ์ ตลอดถึงแม้กษัตริย์แห่งเมือง ไพศาลี ปาวา หรือกุสินารา หากไม่ศึกษาในสำนักตักกศิลาแล้ว ก็มักจะศึกษาไปจากสำนักวิศวามิตรนี้ สำนักวิศวามิตรมีที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณ ต้นลำน้ำโรหิณี บริเวณตอนใต้เทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ไกลออกไปกว่าสำนักตักกศิลา
คำว่า "สำนักวิศวามิตร" แปลว่า "สำนักแห่งความเป็นมิตรกับคนทั่วไป" อาจารย์แห่งสำนักในสมัยแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชำนาญทางวิชาฤษี พร้อมด้วยวิชาธนู อาจารย์วิศวามิตร แห่งสำนักวิศวามิตรทุกคน เป็นบุรุษที่มีใจดำรงมั่นต่อการอบรมศีลธรรม และศิลปวิทยา สำนักวิศวามิตรเป็นสถานที่อบรมสั่งสอนเจ้าชายสิทธัตถะในสมัยเยาว์วัย อาจารย์วิศวามิตรที่มีชื่อเสียง เป็นบุตรในสกุลลิจฉวีกษัตริย์แห่งกรุงไพศาลี ท่านมีพี่ชาย 2 คน มีน้องหญิง 1 คน และมีคนดูแลสำนักที่มีชื่อเสียง ชื่อสังกิจจ์ซึ่งเป็นคนดูแลเรื่องอาหารและความเป็นอยู่แก่นักศึกษาที่มาเล่าเรียนในสำนัก

คำสอนพิเศษสำนักวิศวามิตร[6]แก้ไข

  1. จะต้องรู้จักอดทน ทำเป็นไม่รู้เท่าทัน ทำเป็นไม่เห็นไม่ได้ยินกิริยาอาการ หรือถ้อยคำล่วงเกินของผู้อื่น
  2. แม้จะมีความรู้ความสามารถสักเพียงไร ก็ไม่พึงตั้งอยู่ในความประมาท จงคิดให้ดีก่อนทำก่อนพูดอะไรที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น
  3. ถ้าเห็นอะไรเกินความสามารถ ให้หาทางสอบถามหาความแก้ไขจากอาจารย์
  • อาวุธพิเศษ ใช้ประกอบคำสอนข้อที่ 2 ได่แก่ เกราะ ธนู และลูกธนู

ความคิดเห็น