ประวัติศาสตร์เพชรบุรี

ประวัติศาสตร์เพชรบุรี
Page issues
ThaiHistory Placide CarteDuRoyaumeDeSiam.png
ประวัติศาสตร์ไทย
ThaiHistory SiamPlacide.jpg
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียง ประมาณ 2500 ปีก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ประมาณ 2000 ปีก่อน พ.ศ.
ยุคอาณาจักร
สุวรรณภูมิ
ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3- พุทธศตวรรษที่ 5
โจฬะ
พุทธศตวรรษที่ 2-17
สุวรรณโคมคำ
พุทธศตวรรษที่ 4-5
ทวารวดี-นครชัยศรี-ศรีจนาศะ
ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 5-15
โยนกนาคพันธุ์
พ.ศ. 638-1088
คันธุลี
พ.ศ. 994-1202   เวียงปรึกษา
1090-1181
ศรีวิชัย
พ.ศ. 1202-1758   ละโว้
1191 -1470 หิรัญเงินยางฯ
1181 - 1805
  หริภุญชัย
1206-1835
สงครามสามนคร พ.ศ. 1467-1470
  สุพรรณภูมิ
ละโว้
ตามพรลิงค์
ลังกาสุกะ
พริบพรี
นครศรีธรรมราช   สุโขทัย
1792-1981 พะเยา
1190-2011 เชียงราย
1805-1835
ล้านนา
1835-2101
อยุธยา (1)
พ.ศ. 1893-2112
  สค.ตะเบ็งชเวตี้
  สค.ช้างเผือก
  เสียกรุงครั้งที่ 1
   พ.ศ. 2112 พิษณุโลก
2106-2112 ล้านนาของพม่า
2101-2317
  แคว้นล้านนา
  แคว้นเชียงใหม่
กรุงศรีอยุธยา (2)
พ.ศ. 2112-2310
เสียกรุงครั้งที่ 2
สภาพจลาจล
กรุงธนบุรี
พ.ศ. 2310-2325 ล้านนาของสยาม
2317-2442
  นครเชียงใหม่
 
 
กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน
  สงครามเก้าทัพ
  อานามสยามยุทธ
  การเสียดินแดน
  มณฑลเทศาภิบาล
  สงครามโลก: ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 2

ยุครัฐประชาชาติ
ประเทศไทย
  ปฏิวัติ พ.ศ. 2475
  เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ
  พ.ศ. 2475–2516
  พ.ศ. 2516–ปัจจุบัน สหรัฐไทยเดิม
พ.ศ. 2485-2489

จัดการ: แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข
สมัยฟูนันแก้ไข

นักโบราณคดีไทยได้แบ่งสมัยแห่งประวัติศาสตร์ในประเทศไทยไว้เป็น ๓ ยุคคือ

    ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งเป็นยุคหินและยุคโลหะซึ่งยุคหินนั้นแบ่งเป็นยุคหินเก่า, หินกลางและยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะนั้นแบ่งเป็นยุคโลหะตอนต้น และยุคโลหะตอนปลาย
    ยุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ เป็นสมัยสุวรรณภูมิ มีอาณาจักรฟูนาน
    ยุคประวัติศาสตร์ แบ่งได้ ๒ ตอน คือ ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ประกอบด้วยอาณาจักรอิศานปุระ (เจนฬา) ทวารวดี ศรีวิชัย โยนก ศรีจนาศะ ลพบุรี (ละโว้ปุระ) และยุคประวัติศาสตร์ไทยซึ่งแบ่งได้ ๒ สมัย คือ สมัยรัฐไทยอิสระประกอบด้วยล้านนาไทย สุโขทัย ละโว้ อยุธยา และนครศรีธรรมราช อีกสมัยคือสมัยอาณาจักรไทย แบ่งได้ ๓ สมัย คือ กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ คือ ยุคสุวรรณภูมิซึ่งมีอาณาจักรฟูนาน เริ่มแต่พุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๒ นั้น หนังสือ “สมุดเพชรบุรี” กล่าวว่ามีความเชื่อตาม ดร.จัง บัวเซอร์ ลิเอร์ (Jean Boisselier) ว่าอาณาจักรนี้มีอาณาเขตตั้งแต่แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตลอดไปถึงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางและเวียดนามใต้ทั้งนี้ เพราะได้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่างแสดงว่าเป็นแหล่งและสมัยเดียวกัน และยังเชื่อว่าอาณาจักรนี้จะต้องคลุมถึงราชบุรี เพชรบุรี ตลอดไปจนถึงชุมพรโดยได้สันนิษฐานว่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ชาวบ้านได้ขุดพบโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น ลูกปัด ศิวลึงค์ ฐานตั้งศิวลึงค์ ที่เขาสามแก้ว อำเภอเมืองชุมพร โดยเฉพาะลูกปัดเป็นชนิดเดียวกัน นอกจากนี้ได้พบลูกปัดสมัยทวารวดีอีกเป็นจำนวนมาก จึงได้สันนิษฐานว่าเมืองเพชรบุรีคงอยู่ในอาณาจักร ดังกล่าว
สมัยทวารวดีแก้ไข

อาณาจักรทวารวดีอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ อาณาจักรนี้มีกล่าวไว้ใน จดหมายเหตุจีนและจดหมายเหตุการเดินทางของหลวงจีน เรียกอาณาจักรนี้ว่า ตุยลอปาตี หรือ สุ้ยล้อปึ๊งตี๋ ซึ่งรวมเมืองราชบุรี เพชรบุรี คูบัว พงตึก นครปฐมกำแพงแสน ลพบุรี นครสวรรค์ ลำพูน ฯลฯ นักโบราณคดีเชื่อกันว่า ชนชาติที่อาศัยอยู่ในแถบนี้เป็นชนชาติมอญ ศิลปวัฒนธรรมที่ได้พบในภาคกลางโดยเฉพาะที่เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม ส่วนใหญ่เป็นศิลปะที่มีฝีมือดีกว่าแถบอื่น (ผู้เขียนเชื่อว่าอาณาจักรนี้เลยลงไปถึงเมืองปราณบุรี และชุมพรดังหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว) สำหรับเมืองหลวงของอาณาจักรนี้ บ้างก็ว่าเป็นนครปฐม บ้างก็ว่าเป็นเมืองอู่ทอง เพราะทั้งสองแห่งได้พบโบราณสถานขนาดใหญ่

    จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวไว้ว่า พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชพระบวรเชษฐพระราชกุมาร อันเป็นพระราชนัดดา ได้ลาพระเจ้าปู่พระเจ้าย่ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ ณ เพชรบุรี โดยได้นำคนมาสามหมื่นสามพันคน ช้างพังทลายห้าร้อยเชือก ม้าเจ็ดร้อยตัว สร้างพระราชวังและบ้านเรือนอยู่หน้าพระลาน ให้คนเหล่านั้นทำนาเกลือ ครองราชย์อยู่กรุงเพชรบุรีไม่นานนัก มีสำเภาจีนลำหนึ่งถูกพายุมาเกยฝั่ง ชาวเพชรบุรีได้นำขุนล่ามจีนเข้าเฝ้า ขุนล่ามได้ถวายเครื่องราชบรรณาการแก่กษัตริย์เมืองเพชรบุรี ขุนล่ามจีนได้ขอฝาง ทางเมืองเพชรบุรีได้มอบฝางให้จนเต็มเรือ เมื่อเรือกลับถึงเมืองจีน พระเจ้ากรุงจีนทรงทราบจึงโปรดพระราชทานบุตรีชื่อ พระนางจันทรเทวีศรีบาทราชบุตรีทองสมุทร ซึ่งประสูติแต่นางจันทรเมาลีศรีบาทนาถสุรวงศ์พระธิดาเจ้าเมืองจำปาได้ถวายแก่พระเจ้ากรุงจีน พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชทรงมี พระราชบุตรหลายพระองค์ องค์หนึ่งพะนามว่าพระพนมวังมีมเหสีทรงพระนามว่าพระนาง สะเดียงทอง พระพนมทะเลโปรดให้ไปสร้างเมืองนครดอนพระ พร้อมด้วยพระเจ้าศรีราชา พระราชทานคนเจ็ดร้อยคน แขกห้าร้อยคน ช้างสามร้อยเชือก ม้าสองร้อยตัว เมื่อไปถึงเมืองและสร้างพระธาตุ จากตำนานเรื่องนี้แสดงว่า เมืองเพชรบุรีได้เจริญรุ่งเรืองและเป็นเมืองหลวง เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง พระโอรสของกษัตริย์เมืองนี้ได้ไปสร้างเมืองศิริธรรมนครหรือนครศรีธรรมราชและสร้างพระบรมธาตุเมืองนครด้วย

จากคำให้การของชาวกรุงเก่าได้กล่าวถึงพระเจ้าอู่ทองสร้างเมืองเพชรบุรีไว้ว่า พระอินทราชาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าชาติราชาได้ครองเมืองสิงห์บุรี พระอินทราชาไม่มีโอรส จึงทรงมอบราชสมบัติให้พระราชอนุชาครองราชสมบัติแทน พระนามว่าพระเจ้าอู่ทอง ส่วน พระองค์ได้เสด็จไปซ่อมแปลงเมืองเพชรบุรีเป็นเมืองหลวง บ้างก็กล่าวว่าพระองค์ถูกพระอนุชาและพระมเหสีคบคิดกันจะลอบปลงพระชนม์ พระองค์จึงหนีไปสร้างเมืองเพชรบุรี ต่อมาทรงได้พระราชโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระอู่ทอง ตามชื่อพระเจ้าอา พระโอรสองค์นี้ประสูติแต่พระมเหสีชื่อ มณีมาลา เมื่อพระอู่ทองมีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระอินทราชาสวรรคต พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอู่ทอง มเหสีทรงพระนามว่า พระนางภูมมาวดีเทวี

    ในศักราช ๑๑๙๖ พระเจ้าอู่ทองได้ทรงแบ่งเขตแดนกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช เจ้าเมืองศิริธรรมนคร โดยใช้แท่นหินเป็นเครื่องหมาย ทางเหนือเป็นของพระเจ้าอู่ทอง ทางใต้เป็นของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และทั้งสองประเทศจะเป็นไมตรีเสมอญาติกัน หากพระเจ้าศรีธรรมโศกราชสิ้นพระชนม์เมื่อใด ก็ขอฝากนางพญาศรีธรรมโศกราช พญาจันทรภานุและพญา-พงศ์สุราหะพระอนุชาด้วยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนสินค้ากัน โดยทางฝ่ายเพชรบุรีส่งเกลือไปให้ ทางเมืองนครศรีธรรมราชส่งหวาย แซ่ม้าเชือก เป็นต้น มาให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชฯ ให้ซ่อมแปลงพระธาตุและส่งเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาส์นมายังพระเจ้าอู่ทอง พระองค์โปรดฯ ให้นำเครื่องไทยทานไปยังเมืองนครศรีธรรมราช
    ต่อมาเมืองเพชรบุรีเกิดข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยาก เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พระเจ้าอู่ทองจึงทรงหาที่ตั้งเมืองใหม่ โดยทรงตกลงสร้างเมืองขึ้น ณ ตำบลหนองโสน ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงสร้างนครอินทปัตย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๑๑๑ เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วทรง ตั้งชื่อว่ากรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกบวรรัตนราชธานีบุรีรมย์ และทรงสถาปนาพระองค์ใหม่ว่าพระเจ้ารามาธิบดีสุริยประทุมสุริยวงศ์
    จากบันทึกของลาลูแบร์ได้กล่าวถึงกษัตริย์เมืองเพชรบุรีไว้ว่า ปฐมกษัตริย์สยามทรงพระนามว่าพระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร ครองนครไชยบุรี พ.ศ. ๑๓๐๐ สืบราชสันติวงศ์มาสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายทรงพระนามว่าพญาสุนทรเทพมหาเทพราช โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงตั้งชื่อใหม่ว่าธาตุนครหลวง (Tasoo Nocorn Louang) ในปี พ.ศ. ๑๗๓๑ กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ สืบต่อมาจากพญาสุนทรฯ ทรงพระนามว่าพระพนมไชยศิริ พระองค์โปรดฯ ให้ราษฎรไปอยู่ ณ เมืองนครไทยทางตอนเหนือของเมืองพิษณุโลก ส่วนพระองค์เองไปสร้างเมืองใหม่ชื่อพิบพลี (Pipeli) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพระมหากษัตริย์สืบต่อมา ๔ ชั่วกษัตริย์จนถึงองค์สุดท้ายทรงพระนามว่า รามาธิบดี ได้สร้างเมืองสยามขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๔ จากบันทึกนี้กับตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก เพียงแต่เพี้ยนนามเท่านั้น คือ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชกับพระพนมไชยศิริ ส่วนองค์ที่สร้างกรุงศรี-อยุธยานั้นพระนามตรงกัน
    อย่างไรก็ตาม เรื่องพระพนมไชยศิรินี้ บางตำนานได้กล่าวไว้ว่า เป็นเจ้าเมืองเวียง-ไชยปราการได้หนีข้าศึกมาจากเมืองสุธรรมวดี (สะเทิม) เมื่อ พ.ศ. ๑๕๔๗ ในตอนแรกจะอพยพครอบครัวไปทางทิศตะวันตกของแม่น้ำกก แต่ในขณะนั้นในแม่น้ำมีมาก จึงล่องใต้มายังตำบลหนึ่งแล้ว จึงสร้างเมืองขึ้นให้ชื่อว่า กำแพงเพชร และที่เมืองสุโขทัยยังมีเมืองๆ หนึ่งชื่อ เมืองเพชรบุรี อยู่ที่อำเภอคีรีมาศริมฝั่งคลองสาระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
    เรื่องเมืองเพชรบุรี หรืออาณาจักรเพชรบุรี เคยมีกษัตริย์ – ปกครองนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้ข้อคิดเห็นว่า เดิมเมื่อประมาณพันปีเศษมาแล้ว เมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ อำนาจของเมืองทั้งสองจึงตกแก่กรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะรวบรวมพระนามกษัตริย์อาณาจักรเพชรบุรีที่ปรากฏมี ๖ พระนามคือ

๑. พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช ๒. พระพนมไชยศิริ ๓. พระกฤติสาร ๔. พระอินทราชา ๕. พระเจ้าอู่ทอง ๖. เจ้าสาม
สมัยกรุงสุโขทัยแก้ไข

    เมืองเพชรบุรีในสมัยสุโขทัยนั้น เข้าใจว่าเป็นอาณาจักรเล็กๆ อาณาจักรหนึ่งขึ้นตรงต่ออาณาจักรสุโขทัย จากบันทึกของจีนสมัยพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ พ.ศ. ๑๘๓๗ กล่าวว่า “กัมจูยือตัง (กันจูเออตัน กมรเตง) แห่งเมืองปิกชิกฮั้นปูลีเฮียะ (ปีฉีปุลีเยะเพชรบุรี) ส่งทูตมาถวายเครื่องบรรณาการ” แต่จดหมายเหตุบางฉบับเขียนเป็น ปิกชิกปูลี หรือ ปิชะปูลี ซึ่งกล่าวถึงเมืองเพชรบุรี นอกจากนี้ยังได้กล่าวอีกว่า “ พระโองการชี้ชวนให้กันจูยือตัง (กันจูเออตัน,กมรเตง) เจ้าประเทศสยามมาเฝ้า มีกิจก็ให้ลูกน้องชายกับอำมาตย์มาเป็นตัวจำนำ” และใน พ.ศ. ๑๙๓๔ สมัยรัชกาลพระเจ้าฮ่งบู้ ประเทศริวกิวสยาม เปียกสิกโปบลี้ (เปะชีปาหลี่) กัศมิระ เข้าถวายบรรณาการ ข้อความนี้นายเลียง เสถียรสุต ผู้แปลโดยอธิบายว่า เมืองเปียกกสิกโปบลี้หรือเปะซีปากลี่ นั้นหมายถึงแคว้นโคถานในมงโกล แต่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นเมืองเพชรบุรีมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคำอื่นที่จีนได้บันทึกไว้ดังคำแรก ๆ ที่กล่าวไว้ข้างบนใน พ.ศ.ดังกล่าวจะตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒ ซึ่งครองราชย์ถึง พ.ศ. ๑๙๔๒
    ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้จารึกเรื่องราวในสมัยนั้นไว้ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงพระราชอาณาเขตไว้ว่า “เบื้องตะวันออกรอดสระหลวงสองแควลุมบาจายสคาเท้าฝั่งโขงถึงเวียงจันเวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนทีพระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราชฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว

ความคิดเห็น