พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

พระราชสังวรญาณ
(พุธ ฐานิโย)
หลวงพ่อพุธ
หลวงปู่พุธ.gif
เกิด8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464
มรณภาพ15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
อายุ78
บรรพชาพ.ศ. 2479
อุปสมบท24 กรกฎาคม พ.ศ. 2485
พรรษา57
วัดวัดป่าสาลวัน
ท้องที่นครราชสีมา
วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม 4 ประโยค
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์
เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน
พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464— 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542) เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งแห่งดินแดนอีสาน และเป็นลูกศิษย์องค์สุดท้ายของพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) ท่านกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก และในช่วงวัยเด็ก ท่านมักจะมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่มีนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่น และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมในขณะอยู่ในเพศบรรพชิต [1]

ประวัติแก้ไข

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา ท่านเกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 หมู่บ้านชนบท ตำบลหนองหญ้าเซ้ง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ ในช่วงอายุได้ 4 ขวบ บิดามารดาได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงย้ายมาอยู่กับญาติพี่น้องที่ หมู่บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

อุปสมบทแก้ไข

ในช่วงวัยเยาว์ ท่านได้ออกศึกษาหาความรู้ ในโรงเรียนประชาบาลวัดไทรทอง ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จึงได้ลาออกมาแล้วบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2479เมื่อมีอายุได้ 15 ปี ที่วัดอินทร์สุวรรณ บ้าน โคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมีท่าน พระครูวิบูลย์ธรรมขันธ์ เจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์เป็นพระบรรพชาจารย์

เรียนรู้ธรรมแก้ไข

หลังจากบรรพชาแล้ว ท่านก็อาศัยอยู่กับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์นั่นเอง ท่านได้รับเมตตา จากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เอง สามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี[2] และเริ่มรับการฝึกอบรมด้าน ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีพ.ศ. 2483 ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้พาหลวงพ่อไปฝากตัวเป็นศิษย์พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลวงพ่อได้จำพรรษาเรื่อยมาจนอายุครบบวช 21 ปี จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ณ วัดแห่งนี้ หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจช่วยงานพระศาสนาตลอดมา[3] และในช่วงสงครามแปซิฟิก ท่านได้อพยพ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนั้นจนถึงปี พ.ศ. 2489 ระหว่างนั้น ท่านได้อาพาธอย่างหนัก ต่อมาท่านได้พบกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และท่านก็ได้ช่วยรักษาโดยการให้เพ่งถึงอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยัง คอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา[4] จนกระทั่งเมื่อปีพ.ศ. 2513[5] ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสาละวัน ในระยะเวลาที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างไม่หยุดยั้ง และทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายธรรม สร้างคุณประโยชน์ต่อศาสนามากมาย[6] และได้สร้างโรงเรียนราชอุปถัมภ์ สร้างอาคารให้เด็กนักเรียน[7] มอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงเรียน ตลอดจนหน่วยงาน ราชการต่างๆ - นอกจากนี้ท่านยังช่วยจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลเสมอๆ - อีกทั้งยังมอบทุนสนับสนุนการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาล มหาราช จังหวัดนครราชสีมา - รวมทั้งมอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงพยาบาลต่างๆอีกด้วย

ละสังขารแก้ไข

หลวงพ่อพุธ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริอายุได้ 78 ปี [8]

ตำแหน่งทางคณะสงฆ์แก้ไข

  • พ.ศ. 2495 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ
  • พ.ศ. 2496 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2500 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ
  • พ.ศ. 2511 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ
  • พ.ศ. 2513 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน

สมณศักดิ์แก้ไข

  • พ.ศ. 2500 พระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูพุทธิสารสุนทร
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2512 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระชินวงศาจารย์ สาสนภารพินิจ ธรรมิกคณิสสร[9]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2527 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระภาวนาพิศาลเถร[10]
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวรญาณ ปฏิภาณพิพัฒนวิสิฏฐ์ ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]

ความคิดเห็น